รีวิว ไปเที่ยววัดนาคปรกในวันสงกรานต์
ที่ตั้งและอาณาเขตของวัด
ที่ตั้ง วัดนาคปรกมีฐานะเป็นวัดราษฎร์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตั้งอยู่เลขที่ ๓๔๒ ถนนเทอดไท ๔๙ แขวงปากคลองภาษีเจริญ เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร ที่ดินที่ตั้งวัดมี ๑๒ ไร่ ๑ งาน ๔๒ ตารางวา โฉนดเลขที่ ๒๕๐๔๓ อาณาเขต ทิศเหนือติดกันคลองวัดนาคปรก ด้านทิศตะวันออกติดกับวัดนางชี ทิศใต้ติดกับคลองบางหว้า และด้านทิศตะวันตกติดกับโรงเรียนวัดนาคปรก
วิหารหลวงพ่อโต
พระกรุหลวงพ่อโต วัดนาคปรกนั้น พระอธิการชู คงชูนาม (หลวงปู่ชู) อดีตเจ้าอาวาสวัดนาคปรก ท่านได้สร้างเมื่อคราวทำพิธีหล่อองค์พระหลวงพ่อโตทั้งสององค์สองครั้ง โดยสร้างหลวงพ่อโตองค์เล็กครั้งแรกในปี พ.ศ.๒๔๖๕ และสร้างหลวงพ่อโตองค์ใหญ่เป็นครั้งที่สองในปี พ.ศ.๒๔๗๒ เพื่อประดิษฐาน ณ วิหารหลวงพ่อโต วัดนาคปรก เพื่อให้ประชนผู้เลื่อมใสศรัทธาได้กราบไหว้ในองค์หลวงพ่อโต พระหลวงพ่อโต วัดนาคปรก เนื้อทองเหลืองแตกกรุสองครั้งคือ ครั้งแรกแตกเมื่อมีโขมยใจบาปมาแอบตัดเศียรองค์หลวงพ่อโต แต่ก็เกิดสิ่งอัศจรรย์ในคราวนั้นเมื่อขโมยไม่สามารถนำเศียรองค์ของหลวงพ่อโตไปได้ เดินหลงทางหาทางออกจากวัดไม่ได้จนเกือบใกล้รุ่ง หัวโขมยใจบาปจึงได้นำเศียรขององค์หลวงพ่อโตไปแอบซุกไว้ที่พงหญ้าริมกำแพงโบสถ์ ซึ่งในครั้งนั้นทางวัดโดย ท่านพระครูศรีพัฒนคุณ (พิศิษฐ สิมมามี) ท่านเจ้าอาวาสวัดนาคปรกในสมัยนั้นและกรรมการวัดได้ทำการสำรวจที่องค์หลวงพ่อโต จึงได้พบพระพิมพ์หลวงพ่อโต เป็นพระแผงเนื้อทองเหลืองจำนวนหนึ่ง ทางวัดจึงได้เก็บรักษาไว้
โบสถ์ พยานาคสีขาว
เป็นโบสถ์ที่สร้างเสร็จได้ไม่นาน โดยโบสถ์และพยานาคได้สร้างเป็นสีขาว ดวงตาพยานาคเป็นสีแดง มีความสวยงามมาก โดยหน้าโบสถ์จะมีลูกนิมิตให้ติด
หอระฆัง
หอระฆัง เป็นสถานที่แขวนระฆัง-ตั้งกลอง เพื่อใช้ตีบอกสัญญาณบุญและลั่นเสียงความดีงามบอกเวลาพระสงฆ์สามเณรภายในวัด เพื่อนัดหมายประกอบกิจวัตรประจำวันหรือกิจสำคัญเฉพาะ หอระฆังมี ๒ แห่ง คือ หอระฆังโบราณตั้งอยู่หน้าโรงเรียนวัดนาคปรกซึ่งขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถาน และแห่งที่ ๒ สร้างโดยคุณจีบ ชูสังข์
คอนกรีตเสริมเหล็กลักษณะทรงไทยมณฑปยอดปรางค์ มีขนาดกว้าง ๔ เมตร ยาว ๔ เมตร สูง ๑๔ เมตร ชั้นบนแขวนระฆัง ชั้นล่างตั้งกลอง ประดับลวดลายด้วยปูนปั้นลายไทยและรูปปั้น ๑๒ ปีนักษัตร